กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ปัญหาที่ผู้หญิงควรใส่ใจ

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่คืออะไร

                ภาวการณ์กลั้นปัสสาวะไม่อยู่คือการมีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้มีภาวะนี้อาจมีการปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน ซึ่งภาวะนี้มีหลายประเภท ดังนี้

  • อาการปัสสาวะจะเล็ดเมื่อออกแรง เกิดจากการที่มีแรงดันที่กระเพาะปัสสาวะ เช่น การจาม การหัวเราะ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • อาการปัสสาวะราดทันที คือการปวดปัสสาวะฉับพลันและไม่สามารถทำได้ทำให้ปัสสาวะก่อนที่จะถึงห้องน้ำ
  • ปัสสาวะเล็ดและราดร่วมกัน เป็นภาวะที่มีอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงร่วมกับอาการปัสสาวะราดทันที โดยส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่มักจะเป็นภาวะนี้
  • อาการปัสสาวะล้น คือการที่ไม่สามารถปัสสาวะได้จนหมดกระเพาะได้ จึงทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมา

 สาเหตุที่ทำให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีหลายสาเหตุโดยจะแบ่งดังนี้

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชั่วคราว ส่วนมากมาจากอาหาร เครื่องดื่ม ยา อาการท้องผูก และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น

  • แอลกอฮอล์
  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
  • คาเฟอีน
  • น้ำอัดลม
  • โซดา
  • ช็อกโกแลต
  • พริก
  • การรับประทานวิตามินซีที่มากเกินความจำเป็น
  • ยาบางชนิดในกลุ่มยารักษาโรคหัวใจและความดันโลหิต ยาคลายกล้ามเนื้อ และยากล่อมประสาท
  • การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
  • ท้องผูก

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นประจำ ส่วนมากมักจะมาจากปัจจัยเหล่านี้

  • การตั้งครรภ์ สาเหตุมาจากฮอร์โมนและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของลูกที่อยู่ในครรภ์
  • การคลอดบุตร ทำให้อุ้งเชิงกรานอ่อนแอลงส่งผลให้การควบคุมกระเพาะปัสสาวะแย่ลง
  • อายุที่มากขึ้นทำให้กระเพาะปัสสาวะเล็กลงและเกิดการบีบตัว
  • หมดประจำเดือน เพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะแข็งแรงน้อยลง ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้หญิง
  • การอุดตัน เพราะเมื่อมีสิ่งอุดตันทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะน้อยลงจนนำไปสู่การล้นของกระเพาะปัสสาวะ จึงนำมาสู่การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัญหาต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
  • โรคทางระบบประสาท โรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง รวมถึงเนื้องอกในสมองอาจปิดกั้นการส่งสัญญาณที่มีส่วนในการควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

วิธีป้องกันและรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • การควบคุมการปัสสาวะ โดยการพยายามกลั้นปัสสาวะเป็นเวลา 10 นาที เพื่อฝึกการลดจำนวนการปัสสาวะต่อวัน
  • การปัสสาวะซ้ำ เป็นการเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะปัสสาวะล้น
  • กำหนดเวลาการปัสสาวะ เพื่อไม่ให้มีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะนานเกินไป
  • การควบคุมอาหารและเครื่องดื่ม ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ อาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง
  • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
  • การใช้ยาในการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำยาที่เหมาะสม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดใส่หูรูดท่อปัสสาวะเทียม การผ่าตัดยกเนื้อเยื่อรอบคอกระเพาะปัสสาวะ การผ่าตัดรักษาด้วยสายคล้อง การผ่าตัดแก้ไขการหย่อนตัว

สรุป

                ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยลักษณะของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มี 4 แบบปัสสาวะเล็ดเมื่อออกแรง ปัสสาวะราดทันที ปัสสาวะเล็ดและราดร่วมกัน ปัสสาวะล้น โดยสาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีหลายสาเหตุ โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชั่วคราว และ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นประจำ โดยสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรม และออกกำลังกายอุ้งเชิงกราน

เรื่องนี้ถูกเขียนใน สุขภาพ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร